ประกาศ/นโยบาย

 

นโยบายผู้บริหาร สํานักงานสาธารณสุขอําเภอโนนนารายณ์


นางมนทกานติ พรมเหล่าล้อ
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน รักษาราชการแทน
สาธารณสุขอําเภอโนนนารายณ์

 

ให้ถืงประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สองประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”ขอน้อมนําพระราชดํารัสสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก “องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของ ไทย”เป็นปณิธานในการทํางานร่วมกันการขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขใน 3 ปีจากนี้ เป็นโอกาสในการพัฒนาระบบสาธารณสุขให้เข้มแข็ง มีความมั่นคงทางสุขภาพยิ่งขึ้น โดยครอบคลุมทั้งมิติสุขภาพ มิติสังคมมิติเศรษฐกิจด้วยแนวนโยบาย“สุขภาพคนไทยเพื่อสุขภาพประเทศไทย" โดยมุ่งเน้น 6 ประเด็นหลัก ได้แก่
1. เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร ยกระดับการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในทุกมิติ เชิงรุก ทันสมัยสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สะดวกรวดเร็ว โดยร่วมมือกับเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กร ชุมชน เพื่อให้เกิดความไว้วางใจต่อ “กระทรวงสาธารณสุข” และ พัฒนาศักยภาพคนไทยทุกช่วงวัย ให้สามารถดูแลสุขภาพกาย ใจ ของตนเอง ครอบครัวและชุมชนให้แข็งแรง
2. ยกระดับระบบบริการรองรับสังคมสูงวัย และลดอัตราตายโรคสําคัญ
2.1 สร้างเสริมความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิเพิ่มศักยภาพสามหมอโดยพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ให้เป็นผู้นําด้านสุขภาพในชุมชน เพิ่มศักยภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลให้เป็นจุดเชื่อมต่อสําคัญของการดูแลสุขภาพชุมชน สู่โรงพยาบาลใช้ การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยง ให้ประชาชนได้รับการดูแลแบบ “ใกล้ตัว ใกล้บ้าน ใกล้ใจ"ได้อย่างเป็นรูปธรรม
2.2 ปรับโฉมโรงพยาบาลทุกแห่งให้เป็น “โรงพยาบาลของประชาชน” มีสถานที่สิ่งแวดล้อม สะอาด สวยงามประชาชนเข้ารับบริการ ได้อย่างสะดวก เข้าถึงง่าย ลดการแออัด ลดขั้นตอนที่ไม่จําเป็น ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ทันสมัยบริการมีคุณภาพ ใส่ใจดุจญาติ และบริหารการเงิน การคลังอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด
2.3 เพิ่มขีดความสามารถระบบบริการ และเครือข่าย ไร้รอยต่อโดย “ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ”
บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการใช้ และแบ่งปันทรัพยากร เพื่อลดการเสียชีวิตจากโรคสําคัญ เร่งดําเนินการในกลุ่มผู้สูงอายุ อุบัติเหตุ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไต มะเร็ง สุขภาพจิต
3. ผลักดันการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขสู่ยุคดิจิทัล
3.1 โรงพยาบาลทุกแห่งใช้การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เพิ่มการเข้าถึงบริการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนปรับปรุงให้โรงพยาบาล ชุมชนทุกแห่งมีหน่วยรับผิดชอบ เพื่อขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
3.2 พัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพให้เอื้อต่อการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างไร้รอยต่อ และการพัฒนาระบบสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.3 เร่งพัฒนานวัตกรรมการแพทย์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เพื่อการแพทย์ระดับอณู (Molecular medicine) เพื่อการวินิจฉัยโรค ที่แม่นยำการดูแลรักษา การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคตามลักษณะเฉพาะทางพันธุกรรมอย่างครบวงจร (Precision medicine) รวมถึง การใช้ยาเฉพาะบุคคลตามลักษณะทางพันธุกรรม (Personalized medicine)
4. ยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพเตรียมพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศในอนาคตผลักดันกฎหมายระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง ระบบและกลไกบัญชาการเหตุการณ์ในสถานการณ์ฉุกเฉินการบริหารจัดการทรัพยากรการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ระบบข้อมูลสารสนเทศ และการสื่อสาร อย่างบูรณาการทุกภาคส่วน
5. ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพนานาชาติ ด้านบริการทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพบริการวิชาการ และงานวิจัย การส่งเสริมสุขภาพ สนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สมุนไพร ภูมิปัญญาไทย และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
6. พัฒนาสู่องค์กรสมรรถนะสูง และบุคคลากรมีคุณภาพชีวิตในการทํางานที่ดีขึ้น
6.1 เสริมสร้างสมรรถนะองค์กร ด้วยแนวทาง 4T ได้แก่ Trust สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประชาชน ฝ่ายนโยบายฝ่ายต่างประเทศ บุคลากร และเครือข่าย Teamwork & Talent ทํางานเป็นทีม และสนับสนุนคนเก่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงการทํางานที่ดี Technology ใช้เทคโนโลยี ให้เกิดผลิตภาพ และบริการที่มีคุณค่า เพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน การสื่อสาร ภายในองค์กรรวดเร็วแม่นยํา Targets ทํางานแบบมุ่งเป้าหมายสามารถจัดการทรัพยากร
6.2 บุคลากรมีคุณภาพชีวิตในการทํางานที่ดีขึ้น มีความสมดุลชีวิตกับการทํางาน มีความสามารถในการปรับตัวยืดหยุ่นได้ในภาวะวิกฤติ ทํางานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีพลัง โดยมีเป้าหมายและค่านิยมร่วมกัน เรียนรู้ พัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน